อสม.

อาสาสมัครสาธารณสุข

www.อสม.com
  • หน้าแรก
  • ความรู้ อสม.
    • ความรู้ อสม. หมอประจำบ้าน   
      • หลักสูตรหมอประจำบ้าน  
        • หมอประจำบ้าน E-Book
        • 1. วิชา อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
        • 2. วิชา การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่
        • 3. วิชา การส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
        • 4. วิชา สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานและการใช้กัญชาทางการแพทย์
        • 5. วิชา เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม
               (Telemedicine)และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ    
        • 6. วิชา ผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
      • คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่    
    • ความรู้ อสม. 4.0   
      • ชุดความรู้การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
          และการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน
          
      • ชุดความรู้เรื่องโทษและภัยของบุหรี่  
      • ชุดความรู้เรื่องความรู้เรื่องยา RDU  
      • ชุดความรู้เรื่องวัณโรค  
  • ข่าวสาร อสม.
  • แนะนำ app ด้านสุขภาพ
  • คลิปวีดีโอ
    • อสม. ต้นแบบ
    • NCDs
    • การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและ
      การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • SMART อสม.
    • โรคไต (CKD)
    • คลิป วีดีโอ อื่นๆ
  • อินโฟกราฟฟิก
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและ
      การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • การใช้ยาสมเหตุสมผล
    • อสม. ชวนคนเลิกสูบบุหรี่
    • วัณโรค (TB)
    • อนามัยช่องปาก
    • อื่นๆ
  • หน้าแรก
  • ความรู้ อสม. หมอประจำบ้าน
    • หลักสูตรหมอประจำบ้าน
      • หมอประจำบ้าน E-Book
      • 1. วิชา อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
      • 2. วิชา การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่
      • 3. วิชา การส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
      • 4. วิชา สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานและการใช้กัญชาทางการแพทย์
      • 5. วิชา เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม (Telemedicine)และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ
      • 6. วิชา ผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
    • คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่    
  • ความรู้ อสม. 4.0
    • ชุดความรู้การเจ็บป่วยฉุกเฉิน และการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน
    • ชุดความรู้เรื่องโทษและภัยของบุหรี่
    • ชุดความรู้เรื่องความรู้เรื่องยา RDU
    • ชุดความรู้เรื่องวัณโรค
  • ข่าวสาร อสม.
  • อินโฟกราฟฟิก
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • การใช้ยาสมเหตุสมผล
    • อสม. ชวนคนเลิกสูบบุหรี่
    • วัณโรค (TB)
    • อื่นๆ
  • คลิปวีดีโอ
    • อสม. ต้นแบบ
    • NCDs
    • การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
  • แนะนำ app ด้านสุขภาพ
  • ไฟล์เอกสาร
    • ไฟล์เอกสารหลัก
    • ไฟล์เอกสารความรู้
  • ติดต่อ อสม.

รู้เท่าทัน มะเร็งตับ จากกรณี ตั้ว ศรัณยู เป็นมะเร็งพบมากสุดในคนไทย

หมวดหมู่ ข่าวสาร อสม., โดย admin, วันที่ 11 มิถุนายน 63 / อ่าน : 668



นับเป็นการสูญเสียของวงการบันเทิงไทยอีกครั้ง กับการจากไปของพระเอกตลอดกาล "ตั้ว-ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" นักแสดงคุณภาพและผู้จัดละครมากฝีมือ ด้วยโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย

ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดปีละ 122,757 ราย มะเร็งตับและท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2558 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่ 20,671 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

สาเหตุของมะเร็งตับเกิดจากการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีเกิดจากพยาธิใบไม้ตับร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม ฯลฯ

นอกจากนี้ การดื่มสุราเป็นประจำ การรับสารพิษอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง รวมถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซีก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้

นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น

"หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือดดูความผิดปกติการทํางานของตับ การตรวจระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน การอัลตราซาวด์เพื่อดูก้อนที่ตับ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น" นพ.จินดากล่าว


 

นพ.จินดากล่าวว่า การรักษามะเร็งตับและท่อน้ำดีมีหลายวิธี ซึ่งจําเป็นต้องประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องคํานึงหลายประการ สำหรับการป้องกันโรคทำได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิดทุกคน ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน อาหารที่มีดินประสิว และอาหาร หมักดอง เป็นต้น

หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังหรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ ควรรับการตรวจหามะเร็งอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บผู้จัดการออนไลน์


Facebook Twitter Google+

เรื่องอื่นๆ


คุณประโยชน์ของ “กระชาย” ที่มากกว่าช่วยต้านโควิด-19
คุณประโยชน์ของ “กระชาย” ที่มากกว่าช่วยต้านโควิด-19
ฝากกดไลค์กดแชร์ให้ด้วยนะคะ  เป็นผลงาน อสม. สู่สายตาระดับโลกเพื่อเสนอขอรับรางวัลยูเอ็น (UN) ค่ะ
ฝากกดไลค์กดแชร์ให้ด้วยนะคะ เป็นผลงาน อสม. สู่สายตาระดับโลกเพื่อเสนอขอรับรางวัลยูเอ็น (UN) ค่ะ
กิน ปาท่องโก๋ ให้พอดี เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงโรค
กิน ปาท่องโก๋ ให้พอดี เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงโรค
ความรู้ทางการเงินของธนาคารเเห่งประเทศไทย
ความรู้ทางการเงินของธนาคารเเห่งประเทศไทย
หากพบแรงงานต่างด้าว ซื้อยาลดไข้จำนวนมาก ควรแจ้ง สสจ.
หากพบแรงงานต่างด้าว ซื้อยาลดไข้จำนวนมาก ควรแจ้ง สสจ.
6 อาหาร ทำเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
6 อาหาร ทำเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ดูข่าวสาร อสม.ทั้งหมด



อสม.com
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 88/44 หมู่ 4 ซอย 8 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณี 11000
สบส. Call Center โทร 02-193-7999
query