อสม.

อาสาสมัครสาธารณสุข

www.อสม.com
  • หน้าแรก
  • ความรู้ อสม.
    • ความรู้ อสม. หมอประจำบ้าน   
      • หลักสูตรหมอประจำบ้าน  
        • หมอประจำบ้าน E-Book
        • 1. วิชา อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
        • 2. วิชา การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่
        • 3. วิชา การส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
        • 4. วิชา สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานและการใช้กัญชาทางการแพทย์
        • 5. วิชา เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม
               (Telemedicine)และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ    
        • 6. วิชา ผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
      • คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่    
    • ความรู้ อสม. 4.0   
      • ชุดความรู้การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
          และการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน
          
      • ชุดความรู้เรื่องโทษและภัยของบุหรี่  
      • ชุดความรู้เรื่องความรู้เรื่องยา RDU  
      • ชุดความรู้เรื่องวัณโรค  
  • ข่าวสาร อสม.
  • แนะนำ app ด้านสุขภาพ
  • คลิปวีดีโอ
    • อสม. ต้นแบบ
    • NCDs
    • การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและ
      การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • SMART อสม.
    • โรคไต (CKD)
    • คลิป วีดีโอ อื่นๆ
  • อินโฟกราฟฟิก
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและ
      การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • การใช้ยาสมเหตุสมผล
    • อสม. ชวนคนเลิกสูบบุหรี่
    • วัณโรค (TB)
    • อนามัยช่องปาก
    • อื่นๆ
  • หน้าแรก
  • ความรู้ อสม. หมอประจำบ้าน
    • หลักสูตรหมอประจำบ้าน
      • หมอประจำบ้าน E-Book
      • 1. วิชา อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
      • 2. วิชา การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่
      • 3. วิชา การส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
      • 4. วิชา สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานและการใช้กัญชาทางการแพทย์
      • 5. วิชา เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม (Telemedicine)และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ
      • 6. วิชา ผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
    • คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่    
  • ความรู้ อสม. 4.0
    • ชุดความรู้การเจ็บป่วยฉุกเฉิน และการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน
    • ชุดความรู้เรื่องโทษและภัยของบุหรี่
    • ชุดความรู้เรื่องความรู้เรื่องยา RDU
    • ชุดความรู้เรื่องวัณโรค
  • ข่าวสาร อสม.
  • อินโฟกราฟฟิก
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
    • การใช้ยาสมเหตุสมผล
    • อสม. ชวนคนเลิกสูบบุหรี่
    • วัณโรค (TB)
    • อื่นๆ
  • คลิปวีดีโอ
    • อสม. ต้นแบบ
    • NCDs
    • การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
    • เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
  • แนะนำ app ด้านสุขภาพ
  • ไฟล์เอกสาร
    • ไฟล์เอกสารหลัก
    • ไฟล์เอกสารความรู้
  • ติดต่อ อสม.

สสส. แนะอยู่บ้านกินผักนำ สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด-19

หมวดหมู่ ข่าวสาร อสม., โดย admin, วันที่ 9 เมษายน 63 / อ่าน : 577

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังต่อสู้เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ และปัจจุบันยังไม่มียาที่มีผลในการต้านไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะ ดังนั้นการรักษาจะใช้วิธีรักษาตามอาการ หากไข้สูง ให้ทำการลดไข้ เมื่อมีอาการไอ ก็ทำให้หยุดไอ และวิธีการเสริม คือการเสริมสร้างโภชนาการและเพิ่มภูมิต้านทาน ดังนั้นคนที่สุขภาพดีมีภูมิต้านทานแข็งแรงก็มีความเสี่ยงที่จะติดโรคน้อยลง ด้วยเหตุนี้ระหว่างที่ต้องกักตัวเองในบ้านก็ควรใช้โอกาสนี้ปรับพฤติกรรมการกินใหม่โดยหันมาเพิ่มผักและผลไม้นำในมื้ออาหารมากขึ้นและมีปริมาณเพียงพอในแต่ละวัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อ COVID-19 ทุกมื้อให้ผักนำ 400 กรัมขึ้นไปต้านภัยไวรัส

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเชิญชวนถึงวิธีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสู้กับเชื้อ COVID-19 ทำได้ง่ายๆ เพียงปรับพฤติกรรมการกิน กินอาหารวันละ 3 มื้อ แต่ละมื้อควรกินให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ที่สำคัญให้ยึดหลัก “ทุกมื้อให้ผักนำ” ด้วยการบริโภคผักและผลไม้สดตามฤดูกาลให้ได้มากกว่า 400 กรัมหรือประมาณ 2 ทัพพี ต่อวันขึ้นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพราะผักและผลไม้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง ขณะที่ผักหลายชนิดถูกจัดให้เป็นสมุนไพรซึ่งเป็นประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงในช่วงระยะเวลาที่กักตัวอยู่ในบ้าน

นอกจากนั้นใยอาหารจากผักและผลไม้ที่เพียงพอจะช่วยกวาดสิ่งหมักหมมตกค้างในลำไส้ออกไป ทำให้ระบบทางเดินอาหารสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ลดอาการท้องผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้ และลดการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร

ผักผลไม้ 5 สี เสริมประโยชน์ เพิ่มภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามผักและผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณสารอาหารและประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนั้นในทุกๆ วันจะต้องบริโภคให้มีความหลากหลาย ทั้งชนิด และสี สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไป เพราะผักผลไม้ในแต่ละกลุ่มสีจะให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน สอดคล้องกับคำแนะนำในคู่มือป้องกัน COVID-19 ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลหยุนหนาน มหาวิทยาลัยการแพทย์คุนหมิง ซึ่งสามารถต่อสู้และชะลอการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนได้แล้ว โดยผักผลไม้ 5 สีที่ควรเลือกรับประทานได้แก่

ผักผลไม้สีเหลืองและส้ม เพิ่มการดูดซึมสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง บำรุงสายตา มีมากใน ฟักทอง แครอท และข้าวโพด ในผลไม้ได้แก่ ส้ม มะละกอ แคนตาลูป สับปะรด และมะม่วง เป็นต้น
 

ผักผลไม้สีเขียว ให้สารคลอโรฟิลล์ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ขจัดฮอร์โมนเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิด ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน มีมากใน ผักใบเขียว บรอคโคลี่ ผักโขม ผักบุ้ง คะน้า และหน่อไม้ฝรั่ง ส่วนผลไม้ ได้แก่ กีวี่ เมล่อน ฝรั่ง อะโวคาโด องุ่นเขียว ชมพู่เขียวและแอปเปิลเขียว เป็นต้น

ผักผลไม้สีแดง มีสารไลโคปีนสูง ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงมาก ป้องกันมะเร็ง ทำให้หัวใจแข็งแรง และป้องกันระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ พบมากใน มะเขือเทศ หัวหอมแดง บีทรูท ทับทิม แตงโม เชอร์รี่ องุ่นแดง สตอเบอร์รี่ และแก้วมังกรเนื้อชมพู เป็นต้น

ผักผลไม้สีม่วงและน้ำเงิน มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ พบได้ใน มะเขือม่วง กะหล่ำสีม่วง ดอกอัญชัน บลูเบอร์รี่ ลูกพรุนและองุ่นสีม่วง

ผลไม้สีขาวและน้ำตาล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวเซลล์มะเร็ง ต้านการอักเสบ พบในกระเทียม หัวหอม กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ เห็ด กล้วย พุทรา ลางสาด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ฝรั่ง แอปเปิล แก้วมังกรเนื้อขาว มังคุด

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงก่อนการกินผักและผลไม้ คือการล้างทำความสะอาด เพื่อขจัดสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง รวมทั้งสิ่งปนเปื้อนและจุลินทรีย์


การปรับพฤติกรรมการกินง่ายๆ ด้วยการยึดหลัก “ทุกมื้อให้ผักนำ” ควบคู่กับการออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม เพียงแค่นี้ก็สามารถทำให้เราเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี พร้อมสู้กับเชื้อ COVID-19 ตลอดระยะเวลาที่กักตัว 14 วัน ได้อย่างไร้กังวลหายห่วง และเป็นวิธีที่ดีในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไปเมื่อวิกฤติโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว
 


Facebook Twitter Google+

เรื่องอื่นๆ


คุณประโยชน์ของ “กระชาย” ที่มากกว่าช่วยต้านโควิด-19
คุณประโยชน์ของ “กระชาย” ที่มากกว่าช่วยต้านโควิด-19
ฝากกดไลค์กดแชร์ให้ด้วยนะคะ  เป็นผลงาน อสม. สู่สายตาระดับโลกเพื่อเสนอขอรับรางวัลยูเอ็น (UN) ค่ะ
ฝากกดไลค์กดแชร์ให้ด้วยนะคะ เป็นผลงาน อสม. สู่สายตาระดับโลกเพื่อเสนอขอรับรางวัลยูเอ็น (UN) ค่ะ
กิน ปาท่องโก๋ ให้พอดี เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงโรค
กิน ปาท่องโก๋ ให้พอดี เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงโรค
ความรู้ทางการเงินของธนาคารเเห่งประเทศไทย
ความรู้ทางการเงินของธนาคารเเห่งประเทศไทย
หากพบแรงงานต่างด้าว ซื้อยาลดไข้จำนวนมาก ควรแจ้ง สสจ.
หากพบแรงงานต่างด้าว ซื้อยาลดไข้จำนวนมาก ควรแจ้ง สสจ.
6 อาหาร ทำเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
6 อาหาร ทำเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ดูข่าวสาร อสม.ทั้งหมด



อสม.com
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 88/44 หมู่ 4 ซอย 8 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณี 11000
สบส. Call Center โทร 02-193-7999
query